สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับประชาชน บ้านปงใคร้ปล่อยฟ้ามุ้ยคืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

               กิจกรรมการปล่อยฟ้ามุ้ยคืนสู่ป่า ณ.บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ของผู้บริหาร ประชาชนและสื่อมวลชน เป็นส่วนหนึ่งในผลิตผล ที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ.ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลี้ยงฟ้ามุ้ยบ้านปงใคร้ จัดทำโครงการ ธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชนบ้านปงใคร้ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์กล้วยไม้ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนแล้ว กิจกรรมดังกล่าว สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

                ฟ้ามุ้ยเคยถูกจัดให้เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในบัญชี๑ ไซเตส บัญชีควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมไม่ให้มีการนำต้นออกจากป่ามาจำหน่าย ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้เสนอให้ถอดชื่อกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยออกจากไซเตสบัญชี ๑ ไปอยู่บัญชี ๒ เพื่อเปิดช่องทางให้มีการพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้ามากขึ้น

               สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงมีพระเสาวนีย์ ผ่านสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์  ให้“ช่วยสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นให้มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจ พืชอาหาร พืชสมุนไพร และไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ รวมถึงการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทยหายากแล้วปล่อยคืนสู่ป่าให้อยู่ในสภาพธรรมชาติตามเดิม”

               ด้านนายวันชัย อินยม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่เปิดเผยว่า สพภ. หรือ เบโด้ ได้เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์กล้วยไม้อย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ ให้ความรู้ในการสำรวจความหลากหลายกล้วยไม้ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ และเทคนิคการนำกล้วยไม้ออกจากขวด รวมทั้งกระบวนการปล่อยกล้วยไม้คืนป่า ส่งผลให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจได้เป็นอย่างดี โดยได้จัดทำโครงการ ธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชนบ้านปงใคร้ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนขึ้นในที่สุด

               ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลโปร่งแยง และชาวบ้าน ร่วมกับ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ จัดกิจกรรมคืนถิ่นฟ้ามุ่ยบ้านปงใคร้  นำเมล็ดกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยที่เคยอยู่ในป่า  มาเพาะเลี้ยงขยายพันธ์อาหารสังเคาระห์ ก่อนจะปล่อยคืนกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยสู่ธรรมชาติ เพื่อหยุดการนำพ่อแม่พันธุออกจากป่า  และอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยในธรรมชาติเนื่องจากเห็นความสำคัญกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยในธรรมชาติ เป็นกล้วยไม้ไทยหายากและถูกภัยคุกคามและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ 

               ธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชนบ้านปงใคร้ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนหนึ่งในกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น มีกล้วยไม้ลงทะเบียน ๒๐๐ ต้น ๓๖ ชนิด กล้วยไม้ในธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชน จะเป็นกล้วยไม้ที่ชาวบ้านใช้ผลิตฝักกล้วยไม้ อาทิ ฟ้ามุ่ย นกคุ้มไฟ เอื้องคำ และเอื้องมอนไข่ เป็นกล้วยไม้ที่จะนำไปเพาะขยายพันธ์เพิ่มจำนวนกล้วยไม้ให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ชาวบ้านยังมีต้นกล้ากล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดไว้จำหน่วย หรือเตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้คืนสู่ป่าอีกด้วย

               สำหรับหมู่บ้านปงใคร้ อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้ หมู่บ้านที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี มีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบรูณ์ระบบนิเวศป่าดิบเขา ที่มีต้นไม้ใหญ่ หลากหลายสายพันธุ์กระจายหนาแน่นทั่วผืนป่า เป็นต้นน้ำที่สมบรูณ์น้ำไหลตลอดปีแหล่งต้นน้ำสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่  เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์ป่าดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านฟ้ามุ่ย ที่พบกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยในธรรมชาติแหล่งเดียวของประเทศไทย ที่มีการเพิ่มจำนวนการปลูก กล้วยไม้ฟ้ามุ้ยจากกการเพาะเมล็ด ปล่อยคืนสู่ป่ามาอย่างต่อเนื่อง

               ปัจจุบันหมู่บ้านปงใคร้ จึงเป็นแหล่งเดินป่า และชมกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยในธรรมชาติส่งผลให้ชุมมีวิถีชีวิต และรายได้เพิ่มขึ้น จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ท่องเที่ยวชีวภาพ ที่พัก หล่อเลี้ยงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ฟ้ามุ้ยเพื่อปล่อยคืนสู่ป่า ของชุมชนได้เป็นอย่างดี 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: