
องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท.โดยมี ดร.สมจินต์ ชาญกระบี่ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 7 จับมือกับคุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ชสท.นำสื่อมวลชนและสมาชิกเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสนับสนุนโครงการที่จะสร้างเมืองสุพรรณบุรี ถึงความเตรียมในการเป็นเมืองดนตรีอย่างไรบ้าง เพราะสุพรรณบุรีน่าจะเป็นจังหวัดเดียวที่มีปูชนียบุคคลด้านดนตรีระดับสุดยอด ร่วมยุค ร่วมสมัย ถึง 5 สายธาร คือ เบญจภาคีดนตรีสุพรรณ ได้แก่เพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงสตริง ซึ่งศิลปินทุกท่านยังคงมีกิจกรรมทางด้านดนตรีและผลงานเพลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างเราที่จะช่วยกันเผยแพร่ ผลักดัน ผนึกภาคี ให้ผลงานเหล่านั้นผ่านไปสู่การรับรู้เพื่อการยอมรับของกลุ่มสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีจากยูเนสโก้ เพื่อที่จะยกระดับเมืองสุพรรณสู่สากล







จุดแรกไปกราบหลวงพ่อโตที่วัดป่าเลไลย์ วัดเก่าแก่คู่เมืองสุพรรณบุรี มีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างเป็นที่สักการะของคนทั่วไป ภายในวัดยังมีรูปปั้นราชาเพลงลูกทุ่งสุรพล สมบัติเจริญ และ สายัณห์ สัญญา ยังมี คุ้มขุนช้าง อยู่ภายในวัด และที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือศาลาครอบวิหารหลวงพ่อโต ยังมีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวของขุนช้าง ขุนแผน เขียนมาจากวรรณคดีที่โด่งดังของชาวเมืองสุพรรณบุรีที่ผูกพันกันมาอย่างยาวนาน




“บ้านครูจิราภรณ์” เรือจ้างที่ใช้ใจในการสร้างลูกศิษย์ที่สนใจในการเรียนดนตรีไทยมาอย่างยาวนาน บนบ้านทรงไทยแบบสุพรรณบุรีอันสวยงาม ขึ้นไปเยี่ยมชมถึงการแสดงดนตรีไทยระดับครูบาอาจารย์ต้อนรับสื่อมวลชนจากส่วนกลางเดินทางมาเก็ลรายละเอียดเพื่อเผยแพร่กิจกรรมในด้านศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อให้องค์การยูเนสโกได้มองเห็นคุณค่าของเมืองศิลปะการแสดงดนตรีไทยเต็มรูปแบบเบญจภาคี

เราเยี่ยมชม นาเฮียใช้ ที่ยิ่งใหญ่อลังการของวิถีชีวิตชาวนายุคใหม่ แม่ขวัญจิต แม่เพลงอีแซวที่โด่งดังและเป็นศิลปินแห่งชาติ ท่านยังแข็งแรงและมีรอยยิ้มอย่างอิ่มสุขเมื่อเจอกับเพื่อนพี่น้องร่วมรุ่นมาเจอหน้ากันอย่างคาดไม่ถึง การพูดคุยออกรสและร้องเพลงอีแซวให้ฟังและร่วมกันถ่ายรูปร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึก พอดีเจ้าของพื้นที่นาเฮียใช้คือทายาทเฮียใช้เดินทางมาถึงเลยมีโอกาสได้มาร่วมถ่ายรูปด้วยกันและสัมภาษณ์ให้ความรู้



นาเฮียใช้ เป็นพื้นที่จัดการบริหารการทำนาแบบทันสมัยโดยใช้เครื่องมือมาจากประเทศไต้หวัน เฮียใช้เจ้าของนามีพื้นที่มากถึง 86 ไร่และจัดการสร้างสรรค์สถานที่ด้วยการสร้างถนนเข้าสู่ท้องนาและวางแผนผังการจัดการได้อย่างลงตัว ทั้งการสร้างโรงงานผลิตต้นกล้าข้าว ซึ่งจัดเอาไว้เป็นระบบด้วยเครื่องมือทุกอย่าง แม้กระทั่งการรดน้ำกล้าข้าวยังต้องใช้เครื่องมือทันสมัยมาก การจัดรูปแบบของการปลูกข้าว ปลูกพืชผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา มีการขุดบ่อกักเก็บน้ำกลายเป็นบึงบัวที่สวยงาม มีเรือพายเก็บบัวด้วย ตอนนี้กำลังสร้างที่พักเพื่อให้เยาวชนได้มาจัดกิจกรรมและเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียงด้วยพระราชดำริของในหลวง ร.9 ซึ่งเฮียใช้บอกว่าฉันเกิดในรัชกาลที่ 9 แม้ว่าเฮียใช้จะจากโลกนี้ไป ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวนาให้ลูกหลานได้สืบไป





การจัดวางแผนผังของผืนนา 86 ไร่จัดระบบได้อย่างสวยงาม มีเรือนรับรอง มีกระท่อมไม้ไผ่เป็นที่พักผ่อนในยามที่ปั่นจักรยานชมท้องทุ่งนา มีหอคอยให้ดูมุมสูงที่กว้างไกล หลายจุดในพื้นที่ท้องนา การเดินทางเข้ามาเรียนรู้การทำนาแบบมีรูปแบบทันสมัย มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวและผลิตต้นไม้ดอกไม้ขาย นาเฮียใช้ อยู่ในเขตอำเภอเมืองอยู่หมู่ 8 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี นาเฮียใช้ น่าสนใจมาก มีร้านกาแฟ และ ร้านขายของที่ระลึก มีผักปลอดสารพิษเอาไว้ขายในราคาไม่แพงถ้าสนใจแวะไปสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนายุคใหม่เขาทำนาอย่างไรเราถึงได้กินข้าวแสนอร่อย กว่าจะได้ข้าวมามันยากลำบากแค่ไหน


“คุ้มขุนแผน” อยู่ภายในบริเวณวัดแค โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวสุพรรณบุรีร่วมกับบริจาคสร้าง ซึ่งเป็นเรือนไทยทรงโบราณแบบดั้งเดิม ประกอบ ไปด้วยเรือนใหญ่ตรงกลางเป็นโถงกว้างมีเรือนลูก เชื่อมอยู่ด้านข้าง มีมุกยื่นออกมาด้านหน้า บันไดทางขึ้นกว้างเท่ากับมุกหน้าดูเป็นสง่าสวยงามแบบเรือนไทย




ภายในบริเวณคุ้มขุนแผนจะมีต้นมะขามยักษ์ 1000 ปี และต้นโพธิ์ใหญ่ อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณ มีพระพุทธรูปเกจิอาจารย์อยู่ด้านข้าง การจัดแต่งสวนสวยงามอย่างลงตัว ทุกวันหยุดจะมีการจัดดนตรีในสวนเ ร้องเพลงของเลือดศิลปินชาวสุพรรณที่กำลังสร้างปรากฏการณ์ให้เป็นที่สนใจต่อองค์การยูเนสโก้ เพื่อยกให้สุพรรณบุรีกลายเป็นเมืองมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งที่น่าติดตามและได้เยี่ยมชมนิทรรศการสิบรอบปีของครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติคนแรกของชาวสุพรรณบุรี และมีอาจารย์ทางดนตรีไทยได้สืบทอดเจตนารมณ์ในการสร้างสรรค์ฆ้องวงในรูปแบบล้ำนำสมัยให้คนรุ่นใหม่ได้หลงไหลดนตรีไทย



นมัสการ “พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ” หรือ “หลวงพ่ออู่ทอง” พระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาพิงเขาสูงใหญ่อย่างงดงาม ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นศูนย์รวมแห่งพระพุทธศาสนา และเป็นที่เคารพสักการะ เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของอำเภออู่ทองซึ่งทางพุทธมณฑล ได้จัดตกแต่งสถานที่อย่างรีบเร่งเพื่อให้เกิดความสวยงามและความขลังของ “หลวงพ่ออู่ทอง” องค์นี้ซึ่งสาธุชนใจบุญหลั่งไหลเข้าไปกราบกันอย่างคับคั่งในช่วงวันหยุด




ชุมชนบ้านดงเย็น ชุมชนนวัตวิถีชีวิตเรียบง่ายแต่แข็งแกร่งโดยการดูแลของอพท.กับอาหารพื้นถิ่นมื้อกลางวันแสนอร่อย มีความหลากหลายซึ่งหากินไม่ได้จากแหล่งอื่น
สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ที่แสดงถึงชีวิต และ จิตวิญาณ ของขาวสุพรรณบุนียังมีอีกมากมาย ความเป็นตัวตนที่โดดเด่น ทั้งศิลปวัฒนธรรม เสียงเหน่อที่เป็นเอกลักษณ์ จนมีหลายคนพูดว่า ก็เพราะเสียงเหน่อทีล่ะที่ทำให้คนสุพรรณบุรีร้องเพลงเพราะ… ขอขอบคุณคุณตุ๊ก ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กร อพท.และคุณรัน ที่ช่วยเทคแคร์ช่วยเหลือให้ข้อมูลตลอดเส้นทาง คิดว่าคงมีโอกาสได้มาร่วมงานกับ อพท.ในโอกาสต่อๆไป

ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ชสท.
